Artpreciate Arted50's profile

โครงการจิตรกรรมเทคนิคสื่อผสม “โลกร้อน ภัยร้ายใกล้ตัว”

โครงการจิตรกรรมเทคนิคสื่อผสม 
“โลกร้อน ภัยร้ายใกล้ตัว”
ภัยแล้ง (Drought), 80 cm x 100 cm, 2022, Mixed media on wood panel
จุดวิกฤตมหาสมุทร (Ocean Crisis), 80 cm x 100 cm, 2022, Mixed media on wood panel
ไฟไหม้ป่า (Wildfire), 80 cm x 100 cm, 2022, Mixed media on wood panel
ณัชชพล ศิริวิลาวัณย์, Natchapol Sirivilavan

โลกร้อน ภัยร้ายใกล้ตัว (Global warming, the danger is imminent), 2022, Mixed media on wood panel
:ภัยแล้ง (Drought), 80 cm x 100 cm
:จุดวิกฤตมหาสมุทร (Ocean Crisis), 80 cm x 100 cm
:ไฟไหม้ป่า (Wildfire), 80 cm x 100 cm

         ศิลปนิพนธ์ภายใต้หัวข้อ โครงการจิตรกรรมเทคนิคสื่อผสม โลกร้อน ภัยร้ายใกล้ตัว   เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของผลกระทบจากภัยโลกร้อนที่เป็นเรื่องใกล้ตัวหรือพบเห็นบ่อย ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเทคนิคสื่อผสม เพื่อปลุกเร้าให้เกิดความสลดหดหู่และเห็นถึงปัญหาที่ต้องร่วมมือกันเเก้ไขทั้งในปัจจุบันเเละในอนาคตจากภัยโลกร้อน
          ผลงานชิ้นที่1 “ภัยแล้ง” เป็นผลงานที่เล่าถึง ภัยโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมของมนุษย์อย่างภัยแล้งที่ทำให้ไม่สามารถเพาะปลูกพืชและทำการเกษตรได้          ผลงานชิ้นนี้ได้สะท้อนมุมมอง เพื่อสื่อสารถึงภัยร้ายนี้ โดยการออกแบบภาพเบื้องหลังเป็นดินที่แตกระแหงและมีซากศพวัวนอนตายอยู่เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ซึ่งบริเวณสันหลังของซากศพวัวจะพบซากกระดูกอีแร้งพาดตายอยู่และพบหนอนที่กำลังกัดกินซากศพกระจายอยู่ทั่วบริเวณ เพื่อสร้างความสลดหดหู่ให้กับตัว   ผลงานและสื่อให้เห็นว่า “หากมนุษย์เรายังไม่ช่วยกันลดโลกร้อน   ภัยแล้งจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ  สัตว์เลี้ยง ที่เปรียบเสมือนเครื่องมือในการทำเกษตรของมนุษย์อย่างวัว หรือแม้แต่สัตว์กินซากอย่างอีแร้งที่ทนต่อสภาพอากาศร้อน ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้เช่นกัน”
          ผลงานชิ้นที่2 “จุดวิกฤตมหาสมุทร” เป็นผลงานที่เล่าถึง ผลกระทบจากภัยโลกร้อนที่เกิดจากระบบนิเวศทางทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สัตว์ทะเลไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และขึ้นมาเกยตื้นตาย ผลงานชิ้นนี้ได้สะท้อนมุมมอง เพื่อสื่อสารถึงภัยร้ายนี้ โดยการนำซากศพของสัตว์ทะเล ได้แก่ ปลาฉลาม โลมา วาฬ มาแสดงถึงการขึ้นมาเกยตื้นตายในเบื้องหลังที่เป็นชายหาดและทะเล โดยเลือกใช้ครอบครัววาฬหลังค่อม มาจัดองค์ประกอบขนาดใหญ่ภายในภาพ เพื่อสื่อให้เห็นว่า “วาฬหลังค่อมซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงทางทะเลสูงกว่าสัตว์ทะเลหลายชนิด หากอนาคตระบบนิเวศทางทะเลยังเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น วาฬชนิดนี้ก็สามารถขึ้นมาเกยตื้นตายได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสื่อความหมายในเรื่องของคราบน้ำมันในทะเลและการทิ้งขยะในทะเลของมนุษย์ที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นนาโนพลาสติกไปส่งผลเสียต่อสัตว์ทะเล ผ่านการใช้เศษถุงพลาสติกมาสร้างรูปร่างเส้นสีเทาและสีดำ ร่วมกับการนำเศษขยะพลาสติกมาแปะติดในตัวผลงาน”
          ผลงานชิ้นที่3 “ไฟไหม้ป่า” เป็นผลงานที่เล่าถึง ผลกระทบจากภัยโลกร้อนที่รุนแรงและรวดเร็วสามารถคร่าชีวิตและทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าได้อย่างไม่ทันตั้งตัวอย่างไฟไหม้ป่า  ผลงานชิ้นนี้ได้สะท้อนมุมมอง เพื่อสื่อสารถึงภัยร้ายนี้ โดยการออกแบบภาพเบื้องหลังเป็นป่าที่ถูกไฟไหม้อย่างรุนแรง ร่วมกับการเพิ่มซากศพและโครงกระดูกของสัตว์ป่าอย่าง ตัวนิ่มและกวางเข้าไปในอิริยาบถที่ตายในท่าทางที่จะหนีเอาชีวิตรอด แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถหนีพ้นไปได้  ได้แก่  ไฟคลอกตายจนเหลือแต่กระดูก การตายขณะหนีขึ้นต้นไม้และตกลงมาตาย เพื่อสื่อให้เห็นถึง “ความรุนแรง ความทรมานและความสลดหดหู่ในผลงานจากภัยไฟไหม้ป่า”

ARTPRECIATE SUPERVISE EXHIBITION
พบกันตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม เป็นต้นไป ผ่าน Behance และ Instagram: Supervise.arted50
ศิลปนิพนธ์โดยนิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษารุ่น50
ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



โครงการจิตรกรรมเทคนิคสื่อผสม “โลกร้อน ภัยร้ายใกล้ตัว”
Published:

โครงการจิตรกรรมเทคนิคสื่อผสม “โลกร้อน ภัยร้ายใกล้ตัว”

Published: